ข้อ 6. การประชุม
ให้มีการเรียกประชุมคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน ตามที่คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน หรือประธานกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืนเห็นว่าจำเป็นและเหมาะสม อย่างไรก็ตามต้องจัดให้มีการประชุมไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง
ในการเรียกประชุมคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน ให้ประธานคณะ กรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืนหรือเลขานุการคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน โดยคำสั่งของประธานคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน แจ้งไปยังกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันประชุมเว้นแต่ในกรณีจำเป็นรีบด่วนจะแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีอื่นหรือกำหนดวันประชุมให้เร็วกว่านั้นก็ได้
การประชุมคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน ต้องมีกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน มาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน ทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน ไม่อยู่ในที่ประชุมให้กรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืนที่มาประชุมเลือกกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืนคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน คนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ทั้งนี้ เลขานุการคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืนไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
กรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน ผู้ใดมีส่วนได้เสียเป็นการส่วนตัวในเรื่องใด หรือมีส่วนได้เสียใด ๆ ในเรื่องที่พิจารณา จะต้องแจ้งให้ที่ประชุมทราบและงดให้ความเห็น งดออกเสียง และออกจากห้องประชุม ยกเว้นที่ประชุมโดยไม่รวมกรรมการที่มีส่วนได้เสีย มีมติเอกฉันท์ให้กรรมการผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมชี้แจงข้อมูลในการประชุม เพื่อความรอบคอบในการพิจารณาตัดสินใจแต่ไม่มีสิทธิออกเสียงหรือตัดสินใจในเรื่องนั้นๆ
คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน มีอำนาจเชิญฝ่ายจัดการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่เห็นสมควรเข้าร่วมประชุม หรือขอให้ชี้แจงในเรื่องที่เกี่ยวข้องได้