การกำกับดูแลกิจการ

กฎบัตรคณะกรรมการบริหาร

กฎบัตรคณะกรรมการบริหาร

1. วัตถุประสงค์
     คณะกรรมการบริหารถูกแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท เพื่อเข้ามาบริหารจัดการและควบคุมกิจการของบริษัท ตามที่คณะกรรมการบริษัท มอบหมายให้ปฏิบัติงาน

2. องค์ประกอบ
2.1 คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร โดยคัดเลือกจากกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
2.2 คณะกรรมการบริหารประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน
2.3 การแต่งตั้งกรรมการบริหาร ต้องผ่านกระบวนการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กรณีที่บริษัทยังไม่มีคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ให้คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้พิจารณา โดยต้องมีรายละเอียดประวัติการศึกษาและประสบการณ์การประกอบวิชาชีพของบุคคลนั้นๆ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจของกรรมการบริษัท
3. คุณสมบัติ
3.1 กรรมการต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีจริยธรรม ในการดำเนินธุรกิจ และมีเวลาเพียงพอที่จะอุทิศความรู้ ความสามารถและปฏิบัติหน้าที่ให้แก่บริษัทได้
3.2 มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
4. วาระการดำรงตำแหน่งและการแต่งตั้งกรรมการบริหาร
4.1 กรรมการบริหารมีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี
4.2 นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการบริหารพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด
(4) ศาลมีคำสั่งให้ออก
(5) ถอดถอนโดยคณะกรรมการบริษัท
4.3 กรรมการบริหารที่เป็นพนักงานบริษัทเกษียณอายุ 60 ปี แต่จะสามารถดำรงตำแหน่งได้ โดยได้รับการเห็นชอบ/การแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง
4.4 เมื่อกรรมการบริหารดำรงตำแหน่งครบวาระ ให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาแต่งตั้งใหม่ทุกปีในการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งแรกหลังจากการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี กรรมการบริหารที่ครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งดังกล่าว มีสิทธิกลับเข้าดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง
5. หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร
5.1 เสนอแนะให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) เป้าหมาย
(ข) นโยบายธุรกิจ
(ค) แผนธุรกิจ
(ง) กลยุทธ์ทางธุรกิจ
(จ) อำนาจการบริหารงาน
(ฉ) งบประมาณรายจ่ายประจำปี
(ช) นโยบายการบริหารความเสี่ยง
(ซ) ขอบเขต อำนาจ และหน้าที่ของประธานเจ้าหน้าที่บริหารรวมถึงผู้บริหารระดับสูงอื่นๆ
(ฌ) เรื่องอื่น ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อกิจการของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ
(ญ) เรื่องอื่น ๆ ที่คณะกรรมการบริหารเห็นสมควรเสนอเพื่อขออนุมัติหรือตามหลักเกณฑ์ ที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด
5.2 ควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจของบริษัทให้เป็นไปตามนโยบายธุรกิจ แผนธุรกิจ และกลยุทธ์ทางธุรกิจที่คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติแล้ว
5.3 กำกับดูแลนโยบายธุรกิจ แผนธุรกิจ กลยุทธ์ทางธุรกิจ และผลการดำเนินงานของบริษัทในเครือ
5.4 มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการกู้หรือการขอสินเชื่อใดๆ เพื่อธุรกรรมตามปกติของบริษัท รวมถึงการเป็นผู้ค้าประกันหรือการชำระเงิน เพื่อการดำเนินธุรกิจตามปกติของบริษัท โดยมีวงเงินในแต่ละรายการไม่เกิน 20,000,000 บาท หรือเทียบเท่า โดยวงเงินดังกล่าวให้เป็นไปตามระเบียบอำนาจอนุมัติและดำเนินการของบริษัท ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริษัทแล้ว ทั้งนี้ วงเงินดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริษัท
5.5 มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการบริหารสภาพคล่อง สำหรับการทำธุรกรรมด้านเงินฝากตั๋วเงินของสถาบันการเงิน พันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวมเปิดตราสารหนี้ ในวงเงินที่ไม่เกิน 30,000,000 บาทและพิจารณารายงานการทำธุรกรรมด้านเงินฝากจากฝ่ายบริหารการเงิน
5.6 การกำหนดโครงสร้างองค์กรและการบริหาร โดยให้ครอบคลุมถึง รายละเอียดการคัดเลือกการฝึกอบรม การว่าจ้าง การเลิกจ้างพนักงานบริษัท
5.7 พิจารณาการลงทุนในโครงการหรือหลักทรัพย์หรือการเข้าร่วมทุน ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท
5.8 ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทในแต่ละคราวทั้งนี้ ในกรณีที่การดำเนินการใดที่มีหรืออาจมีผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสียของกรรมการบริหารท่านใดหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง (ตามประกาศของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์)ให้คณะกรรมการบริหาร นำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาต่อไป โดยกรรมการบริหารท่านนั้นและบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง จะไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในการประชุมคณะกรรมการบริษัทในเรื่องดังกล่าว
6. การประชุม
6.1 คณะกรรมการบริหารจะต้องจัดให้มีหรือเรียกประชุมตามที่เห็นสมควร โดยอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งคณะกรรมการบริหารมีหน้าที่ที่จะต้องเข้าร่วมประชุมอย่างสม่ำเสมอ
6.2 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารจะต้องมีกรรมการบริหารเข้าร่วมในการประชุมแต่ละครั้งอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงครบเป็นองค์ประชุม
6.3 วาระการประชุมและเอกสารการประชุมจะต้องจัดส่งให้คณะกรรมการบริหารล่วงหน้า ก่อนการประชุม
6.4 การลงมติของคณะกรรมการบริหารกระทำได้โดยการถือตามเสียงข้างมาก ทั้งนี้ กรรมการผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องใด จะต้องไม่เข้าร่วมประชุมในการลงมติใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้น

การกำกับดูแลกิจการ